พระเครื่อง คือวัตถุที่ทำขึ้นเป็นรูปของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ใช้ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จัดเป็นพุทธานุสติกรรมฐาน นิยมสร้างขึ้นให้มีขนาดเล็ก เพื่อที่สะดวกที่จำนำติดตัว หรือที่เรียกว่าบูชาไว้กับตัว ประวัติการสร้างพระเครื่องมีมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลในยุคประวัติศาสตร์ ไม่แน่ชัดว่าในยุคสมัยใด ข้อมูลที่มีอยู่เป็นแค่ข้อสันนิษฐานตามหลักฐานที่ได้บันทึกไว้ (ที่ปรากฏเป็นหลักฐาน ในราว พ.ศ. 500) การสร้างพระเครื่องยุคแรกนั้นมีวัตถุประสงค์หลักๆไม่กี่ประการ เพราะในสมัยโบราณการสร้างพระหรือรูปเคารพนั้นต้องทำด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ มีจุดประสงค์ที่สำคัญทางด้าน การสืบทอดพระพุทธศาสนาและ การบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสร้างโดยพระมหากษัตริย์ หรือผู้นำชั้นปกครอง หรือพระสงฆ์ ผู้มีฌานสมาบัติ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นำบรรจุไว้ในประสาทหรือเจดีย์ บูชานีย์สถานต่างๆ เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา
ในยุคของกรุงศรีอยุธยาได้มี่ปรากฏเด่นชัดในเรื่องการสร้างพระเครื่อง เพราะได้มีหลักฐานการขุดค้นพบมากมายหลายแห่ง ซึ่งมักจะค้นพบตามสถานที่ในพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การสร้างพระเครื่องโดยพระเกจิอาจารย์หรือพระสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมวิเศษ ของประวัติศาสตร์ชาติไทยมีอยู่มาก ซึ่งพระเกจิอาจารย์ในยุคเก่า ได้ตั้งใจสร้างขึ้นและท่านได้ทำพิธีกรรมปลุกเสกคือบรรจุพลังจิตไว้ในพระเครื่อง เพื่อให้เป็นขลังของดีให้อนุชนรุ่นหลังไว้เป็นที่ระลึกบูชา อีกทั้งยังให้ผลทางด้านอิทธิฤทธิ์ และปาฏิหารย์อีกด้วย
พิธีพุทธาภิเษกหรือพิธีปลุกเสกพระเครื่อง
มาในยุคหลังๆ พระเครื่องอาจจะทำขึ้นในรูปของพระสงฆ์ หรือ เทพเทวดา ต่างๆ เพื่อมีวัตถุประสงค์ในการเชิดชูเกียรติขององค์ท่านเหล่านั้น และเพื่อเป็นการสร้างตัวแทนเพื่อใช้เป็นรูปเคารพบูชา
ค่านิยมและคุณค่า หรือคตินิยม ในการสะสมและการบูชาพระเครื่อง ในปัจจุบัน มีกลุ่มผู้ที่นิยมชมชอบพระเครื่อง อยู่หลากหลายกลุ่มแบ่งเป็นหลักๆได้ ๓ กลุ่ม อาทิเช่นกลุ่มที่สะสมหวังผลในด้านพานิชย์แลกเปลี่ยนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญ กับความหมายของพระเครื่อง จะเน้นไปในทาง ประวัติและ อายุของการสร้าง ตลอดจนคุณค่าความสำัคัญในตัวพระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก หรือแหล่งที่มาที่ค้นพบของพระเครื่องนั้นเป็นสำคัญ กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่สะสมบูชาพระเครื่อง เพราะนิยมศรัทธาในตัวพระเกจิอาจารย์ที่สร้างหรือปลุกเสกวัตถุมงคลนั้นเป็นสำคัญ ส่วนกลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มที่บูชาพระเครื่องเพื่อหวังผลทางด้านพระพุทธคุณ หรือหวังผลทางด้านให้เกิดอิทธิฤทธิ์ กลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญเน้นหนักไปที่ประสบการณ์ เล่าขานจากผู้ที่เคยบูชามาก่อนแล้ว
เหนือสิ่งอื่นใด การบูชาพระเครื่องในปัจจุบัน รู้สึกว่าจะหลงลืมความสำคัญ ในด้านคุณค่าและความหมายที่แท้จริงของพระเครื่องไปมาก ส่วนใหญ่จะไปเน้นที่บูชาเพื่อหวังผลทางด้านอิทธิฤทธิ์กันเป็นส่วนใหญ่ แท้จริงแล้ว พระเครื่องที่เป็นรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระเครื่องที่เป็นรูปเคารพของพระอริยเจ้าที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น คุณค่าสูงสุดก็อยู่ที่เมื่อบูชาแล้วก็ให้นึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระอริยสงฆ์ในรูปนั้นเป็นสำคัญ จึงจะได้ชื่อว่าบูชาพระเครื่องได้ถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา เพราะการนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสงฆ์ที่ท่านเป็นพระอริยเจ้านั้น จัดเป็นพุทธานุสติกรรมฐาน และ สังฆานุสติกรรมฐาน เป็นหนึ่งในพระกรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้
ที่มาของข้อมูล : http://www.siammongkol.com
ประวัติความเป็นมาของ พระเครื่อง
Reviewed by siammongkol
on
20:07
Rating: